เฮือนเย็นวัฒนธรรมการจัดพิธีศพฉบับล้านนา
เฮือนเย็นรู้จักวัฒนธรรมการจัดพิธีศพฉบับล้านนา ในทุกท้องถิ่นย่อมมีวัฒนธรรม ประเพณี ระเบียบแบบแผนและความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน และมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละความเชื่อในท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดงานศพแบบล้านนาก็เป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่นที่น่าสนใจไม่น้อย แล้วจะมีพิธีกรรมอะไรบ้างมาดูกัน
การจัดพิธีศพแบบชาวล้านนาได้มีประเพณี “เฮือนเย็น” หรืองานศพของชาวล้านนา ซึ่งถือว่าเป็นพิธีกรรมสำคัญ ที่ไม่ใช่แค่เฉพาะคนในครอบครัวของผู้ตายเท่านั้น แต่ทุกคนในชุมชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมดูแลช่วยเหลือกัน โดยพิธีกรรมของชาวล้านนาจะมีความผสมผสานความเชื่อทั้งพุทธ ผี พราหมณ์ และไสยศาสตร์
โดยความหมายของคำว่าเฮือนเย็นหรือเรือนเย็น คือ บ้านที่มีคนตาย เย็น คือคำสะท้อนว่ามีความเยือกเย็นถึงหัวใจ เพราะการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รัก ทำให้เกิดบรรยากาศเงียบเหงาเศร้าสร้อย คล้ายกับมีวิญญาณของผู้ตายล่องลอบอยู่ จึงเกิดเป็น “เฮือนเย็น” จับจิตจับใจ จึงต้องจัดงานศพให้กับบ้านที่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งหากภายในบ้านนั้นมีผู้ป่วยวิกฤตหรือใกล้ตายพักอยู่ในบ้าน จะมีการเตรียมวาระสุดท้ายเพื่อนำไปสู่การตายที่ดี ญาติพี่น้องจะต้องมาเยี่ยมเยียนดูแล เฝ้าพยาบาลไม่มีการทอดทิ้งให้ห่างหาย มิเช่นนั้นจะถือว่าใจแคบและถูกเพื่อนบ้านตำหนิได้
สำหรับลูกหลานจะนิมนต์พระมาให้ “ธรรมมหาวิบาก” เป็นการเทศน์เกี่ยวกับวิบากกรรม ซึ่งยิ่งถ้าคนที่ป่วยเป็นโรคเรื้องรังได้ฟัง เชื่อกันว่าถ้าพ้นวิบากโรคจะเหือดหายได้เร็ว แต่ถ้ายังมีวิบากกรรมก็จะสิ้นใจด้วยความสงบไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน การฟังเทศน์มีนัยยะเพื่อเป็นการเตือนสติคนป่วยให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เพื่อเป็นสรณะในบั้นปลายชีวิต ซึ่งจะมีลูกหลานผู้ชายคนหนึ่งนำขันข้าวตอกดอกไม้ไปที่วัดในหมู่บ้าน เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ป่วยขอสูมาแก้วทั้งสาม หมานถึงขอขมาพระรัตนตรัย แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของผู้ป่วย
อีกทั้งยังเป็นความเชื่อโบราณที่คนกำลังจะตาย สติสัมปชัญญะอาจเลอะเลือน ลูกหลายจึงคอยประคับประคองให้ใจของผู้ที่ใกล้เสียชีวิตสงบลงได้ ด้วยการน้อมนำให้ระลึกถึงบุญกุศลที่ได้สั่งสมมาเป็นพาหนะนำไปสู่สุคติภูมิที่ดี และเมื่อผู้ป่วยกำลังจะจากไปลูกหลานจะช่วยบอกทางว่า “ขอหื้อคึดหาของกินของทานเน่อ” ซึ่งหมายถึง ขอให้คิดถึงแต่บุญกุศล พระรัตนตรัย หรือกล่าวพุทโธ ๆ จนกระทั่งสิ้นใจนั่นเอง
ภายหลังจากที่เสียชีวิตแล้ว ลูกเมือจะร้องไห้ โหยหวนอาลัย เรียกว่า ไห้หูย คร่ำครวญ น่าเวทนา คล้ายพิธีของจีน ซึ่งเป็นการระบายความโศกเศร้า แสดงความรัก ความกตัญญู บอกกล่าวให้ผู้อื่นรับรู้ มาช่วยเหลือ โดยในงานศพคนในชุมชนจะมาช่วยที่บ้านของผู้เสียชีวิตอย่างพร้อมเพรียงกัน ทั้งการรับแขก ไปแผ้วถางป่าช้า และทำครัว บทเทศน์ในงานศพก็จะมีหลายบทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น สวดมาติกา สวดสิยาของพระสงฆ์ชาวล้านนา ที่กล่าวถึงบุญกุศลทำดีละชั่ว หรือสวดอภิธรรม
การบรรจุศพของชาวล้านนา จะมีปราสาทเรือนศพโดยชาวล้านนาจะนิยมเอาโลกศพใส่บนเรือน เพราะชาวล้านนาจะถือว่าผู้เสียชีวิตควรได้ไปอยู่ที่บ้านเรือนสวยงาม แล้วจึงนำไปเผาที่ป่าช้า และเมื่อทำพิธีศพที่ป่าช้าเสร็จ จึงจะกลับมาสวดมนต์ไหว้พระที่วัด หลังจากเผาศพเรียบร้อยแล้ว จะมีการเก็บอัฐิไปก่อเป็นเจดีย์ทรายริมแม่น้ำ ประดับด้วยดอกไม้ ตุง นิมนต์พระมาสวดบังสุกุล เมื่อน้ำขึ้นก็จะพัดพาอัฐิลอยไปตามแม่น้ำ ในบางคนที่มีฐานะดีหน่อยจะใส่อัฐิในกู่เจดีย์ที่ป่าช้า หรือที่วัดให้ลูกหลานมาทำบุญในวันสงกรานต์
ช่วงที่เคลื่อนขบวนศพไปที่ป่าช้าเรียกว่า ปอยล้อ จะใช้ตุงสามหางนำขบวน ถือเป็นสัญลักษณ์ของชาวล้านา โดยคนที่ถือตุงจะสะพายย่ามใส่เสบียง “ข้าวด่วน” สำหรับให้ผู้วายชนม์ โดยการควักกระทงใบตองใส่เครื่องเซ่นขอผ่านทางตรงไปประตูเข้าหมู่บ้าน หรือทางสามแพร่งและจุดสำคัญต่าง ๆ โดยที่พระสงฆ์จะเป็นผู้นพขบวน ตามด้วยญาติ ปราสารทเรือนศพ ต่อด้วยล้อเกวียนดนตรีปี่พาทย์ เมื่อถึงป่าช้าก็เอาศพออกจากโลงศพ ใช้น้ำมะพร้าวล้างหน้าศพแล้วนำศพกลับใส่ลงไปในโลงศพอีกครั้ง จากนั้นทำพิธีบังสุกุล เดินเวียน 3 รอบ และทำการเผา
ภายหลังจากทำการฌาปนกิจผ่านไปได้ในระยะหนึ่งแล้ว ลูกหลานจะทำพิธี “ปอยข้าวสังฆ์” เพื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณความดีงานของผู้เสียชีวิตและบรรพบุรุษ โดยชาวล้านนาจะถือเป็นคุณธรรมและถือเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต โดยพิธีปอยข้าวสังฆ์นี้จะมีการจัดข้าวปลาอาหาร สิ่งของที่ผู้เสียชีวิตชอบ เช่น เสื้อผ้า ที่นอน ของใช้ หรือบางคนแม้แต่เครื่องสำอางก็จะใส่ลงไปในบ้านเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้น เรียกว่า เฮือนตาน ในงานจะมีการละเล่น ดนตรี ขับซอ รื่นเริงมากกว่าโศกเศร้า เจ้าภาพจะเลี้ยงอาหารเต็มที่ และจะนิมนต์พระมาบังสุกุล และนำเฮือนตานที่เตรียมไว้ถวายพระสงฆ์ แต่จะมีการทำพิธีบูชาคืน โดยเจ้าภาพจะถวายเงินซื้อหรือไถ่เอาของมาเก็บไว้ที่บ้าน ด้วยของส่วนใหญ่ไม่เหมาะกับพระสงฆ์อยู่แล้ว เว้นเสียแต่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค และเชื่อกันว่าพิธีปอยข้าวสังฆ์ถือว่าให้ผู้เสียชีวิตได้นำของไปใช้ในปรโลก โดยทำพิธีกรรมผ่านทางศาสนาอยู่ถูกต้องนั่นเอง
สำหรับใครที่ต้องปรึกษาหรือสอบถามเกี่ยวกับการจัดงานศพหรือบริจาคโลงศพ ทางร้านสุริยาหีบศพ มีเจ้าหน้าที่คอยบริการตลอด 24 ชม. เลยค่ะ การตายเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น ฉะนั้นจงใช้ชีวิตอย่างมีสติ จะทำอะไรให้คิดก่อนเสมอ จงทำแต่ความดีด้วยนะคะ
สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ตามช่องทางด้านล่างนี้เลยค่ะ
Tel : 02-950-0989 (ติดต่อได้ตลอด 24 ชม.)
Website : http://www.suriyafuneral.com/
ข้อมูลจาก https://peacefuldeath.co