ศิลปะบนโลงศพ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมนับพันปี

ศิลปะบนโลงศพ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมนับพันปี

ศิลปะบนโลงศพ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมนับพันปี งานศิลปะ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเชื่อ อันนำไปสู่วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่แตกต่างกันทั่วโลก และโลงศพก็เป็นหนึ่งในงานศิลปะที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

ความเชื่อหลังความตาย คือจุดกำเนิดของโลงศพ โดยหลายพันปีก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียนโบราณได้มีธรรมเนียมการฝังศพคนตายไว้ในตะกร้าที่สานจากกิ่งไม้เล็ก ๆ และมีการมัดร่างกายและศีรษะติดกับเท้าของผู้ตาย เพราะเชื่อว่าจะสามารถป้องกันไม่ให้คนตายกลับมาหลอกหลอนคนเป็น ซึ่งต่อมาก็ได้มีการออกแบบโลงศพให้มีความมิดชิดมากขึ้น เริ่มมีการนำศพไปฝังลงในหลุมแล้วนำหินก้อนใหญ่มาวางทับ เพราะเชื่อว่าเป็นการปิดปากหลุมกันวิญญาณและใช้หินเป็นสัญลักษณ์ของหลุมศพ ซึ่งต่อมากลายเป็นป้ายหลุ่มศพในเวลาต่อมา

ส่วนในยุคสัมฤทธิ์ ได้มีการค้นพบว่าบางชนเผ่า ได้ตัดต้นไม้ใหญ่ทั้งต้น และตัดเอาแค่เฉพาะลำต้นช่วงพอเหมาะ จากนั้นขุดเป็นโพรงในรูปยาว และมีขนาดใหญ่พอที่จะวางศพลงไปได้ จากนั้นใช้ไม้จากต้นเดียวกันในการทำฝาโลงศพ โดยธรรมเนียมการทำโลงศพขุดได้สืบทอดกันมาจนถึงยุคกลาง และได้มีหลักฐานการค้นพบโลงศพขุดหลายแห่งในประเทศอังกฤษ รวมถึงการพบโลงศพของพระเจ้าอาร์เธอร์ในปี 1191 ด้วย

ต่อมาได้มีการออกแบบและผลิตโลงศพให้มีขนาดและรูปลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ทั้งมีการเพิ่มลวดลายประดับตกแต่งที่ฝาโลงศพ อย่าง รูปนกพิราบสีขาว ไม้กางเขน นักบุญ หรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายกับผู้เสียชีวิต และยังมีการใช้หินเป็นวัสดุในการผลิตโลงศพ โดยทำจากหินก้อนใหญ่ก้อนเดียว ด้านนอกโลงศพมีการแกะสลักประติมากรรมจำหลักนูน ประดับด้านหน้าและด้านข้าง มีเนื้อหาเป็นชัยชนะในสงคราม ภาพเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซู หรือตำนานเทพปกรณัมต่าง ๆ เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทย วัฒนธรรมการใช้โลงศพไม้ได้มีมานานกว่า 2,000 ปี ซึ่งได้มีการค้นพบ “ถ้ำผีแมนโลงลงรัก” ที่ตั้งอยู่ใน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ถ้ำแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการค้นพบโลงศพไม้กว่า 30 โลงศพนี้ ได้สะท้อนให้เห็นว่าในพื้นที่ประเทศไทยมีวัฒนธรรมการใช้โลงศพไม้มากว่า 2000 ปีแล้ว

โลงศพไม้เหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยช่างฝีมือที่มีความชำนาญและประณีตพอสมควร ด้วยตัวโลงศพที่ทำจากไม้สักทั้งต้น ที่คว้านเอาเนื้อไม้ออกให้เป็นโพรงเพื่อใส่ศพลงไปในโลงศพ และในบริเวรที่เป็นหัวโลงศพได้มีการแกะสลักโลงศพเป็นรูปเลขาคณิตสวยงาม การที่โลงศพเหล่านี้ได้ถูกนำมาเก็บซ่อนไว้ในถ้ำแห่งนี้ เพราะโลงศพไม้ในถ้ำแห่งนี้ได้ถูกนำมาวางไว้ราวกับว่าไม่ต้องการใช้ใครมารบกวนบรรพบุรุษนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมการใช้โลงศพไม้ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่บนยอดเขาสูงทางภาคเหนือของไทยเท่านั้น แต่ยังมีการค้นพบวัฒนธรรมโลงศพไม้เหล่านี้ในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง เวียดนาม มาเลเซีย และจีนทางตอนใต้ และที่สำคัญคือวัฒนธรรมโลงศพไม้ เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษของเราได้ทิ้งเอาไว้ให้เราได้พัฒนาต่อยอดจนเป็นโลงศพรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีลวดลายสวยงามดังเช่นในทุกวันนี้

สำหรับใครที่ต้องปรึกษาหรือสอบถามเกี่ยวกับการจัดงานศพหรือบริจาคโลงศพ ทางร้านสุริยาหีบศพ มีเจ้าหน้าที่คอยบริการตลอด 24 ชม. เลยค่ะ การตายเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น ฉะนั้นจงใช้ชีวิตอย่างมีสติ จะทำอะไรให้คิดก่อนเสมอ จงทำแต่ความดีด้วยนะคะ

สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-950-0989

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *